Help with Search courses

พ33101 สุขศึกษา 5

ศึกษาระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และระบบต่อมไร้ท่อ ทักษะชีวิตเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง เรียนรู้เพศวิถี ระบุวิธีการวางแผนพัฒนาดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว สิทธิผู้บริโภค การสร้างเสริมสุขภาพชุมชนและสังคม 

        โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการตัดสินใจและแก้ปัญหา เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ นำหลักการ แนวคิดไปปรับปรุงและนำไปปฏิบัติในการดูแลรักษาสุขภาพ

        เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน  มีจิตสาธารณะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว


ท33101 ภาษาไทย 5 คลิกที่นี่

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

รหัสวิชา    ท๓๓๑๐๑  ภาษาไทยพื้นฐาน                                        กลุ่มสาระการเรียนรู้   ภาษาไทย

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  ๖     ภาคเรียนที่  ๑                                  เวลา ๔๐  ชั่วโมง  จำนวน  ๑   หน่วยกิต

            ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว  บทร้อยกรองประเภทกาพย์ ได้อย่างถูกต้องไพเราะตามฉันทลักษณ์  สามารถอ่านปาฐกถา  พระบรมราโชวาท  เทศนา  คำสอน  และสรุปแนวคิดได้ สามารถวิเคราะห์ ตีความ  แปลความ  ขยายความ รวมไปถึงการวิจารณ์ การคาดคะเน การประเมินค่าจากเรื่องที่อ่านได้อย่างมีเหตุผล  สามารถเขียนกรอบแนวคิด  ผังความคิด  และเขียนเรียงความเกี่ยวกับโลกจินตนาการ  โลกอุดมคติ โดยสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรืองานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้  โดยเน้นการใช้โวหารในการเขียน การอธิบาย การบรรยาย การพรรณนา  ได้ตรงตามวัตถุประสงค์  และสามารถใช้ข้อมูลสารสนเทศอ้างอิงงานเขียนได้อย่างถูกต้อง  รวมไปถึงมีมารยาทในการเขียน  สามารถพูดได้ตรงตามวัตถุประสงค์  มีมารยาทในการฟัง  การดู  การพูด  ศึกษาธรรมชาติของภาษา  พันธกิจของภาษา  สำนวน การเพิ่มคำ  การใช้ระดับของภาษาและราชาศัพท์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล  วิเคราะห์และสังเกตคำที่ใช้ในภาษาไทยที่มาจากภาษาอื่น  สามารถถอดคำประพันธ์  สังเคราะห์ข้อคิด  ประเมินค่า  จากวรรณคดีที่ถูกถ่ายทอดผ่านทางภาษากับวัฒนธรรม  ตามหลักการวิจารณ์เบื้องต้น  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  รวมทั้งท่องจำและบอกคุณค่าบทอาขยาน  บทร้อยกรองที่มีคุณค่าและสามารถนำไปอ้างอิงได้

            โดยใช้กระบวนการการอ่าน การเขียน การฟัง การดูและการพูด ความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนัก การปฏิบัติ การคิด วิจารณญาณ การสร้างค่านิยมและกระบวนการกลุ่ม

            เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง ซึ่งทักษะและกระบวนการทางภาษาเหล่านี้ได้จัดการเรียนรู้ผ่านสาระการเรียนรู้ภาษาไทยต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อนำความรู้ความคิดไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต  มาพัฒนาตน พัฒนาการเรียน พัฒนาความรู้ทางอาชีพและสร้างวิสัยทัศน์ในการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมพร้อมมีมารยาทในการใช้ภาษา

ตัวชี้วัด

ท ๑.๑   ม./๑, ม./๒, ม./๓, ม./๔, ม./๕, ม./๖, ม./๗, ม./๘, ม./

          ท ๒.๑   ม./๑, ม./๒, ม./๓, ม./๔, ม./๕, ม./๖, ม./๗, ม./

          ท ๓.๑   ม./๑, ม./๒, ม./๓, ม./๔, ม./๕, ม./

          ท ๔.๑   ม./๑, ม./๒, ม./๓, ม./๔, ม./๕, ม./๖, ม./

          ท ๕.๑   ม./๑, ม./๒, ม./๓, ม./๔, ม./๕, ม./

 

รวม   ๓๖   ตัวชี้วัด  

 

 

 


ค33101 คณิตศาสตร์ 5 คลิกที่นี่

คำอธิบายรายวิชา  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  5        รหัสวิชา 33101   ประเภทวิชา พื้นฐาน     จำนวน  1.0  หน่วยกิต

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่   6   จำนวน   40  ชั่วโมง/ภาคเรียน

ศึกษาความหมายและประโยชน์ของสถิติศาสตร์ พร้อมทั้งสามารถอธิบาย พร้อมทั้งอธิบายการนำเสนอข้อมูล ที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน ระบุประชากร ตัวอย่าง ตัวแปร ข้อมูล พารามิเตอร์ และค่าสถิติจากสถานการณ์ที่กำหนด จำแนกประเภทของข้อมูลตำแหน่งตามที่มาของข้อมูล ระยะเวลาที่จัดเก็บ หรือลักษณะของข้อมูล และระบุว่าสถานการณ์ที่กำหนด ใช้วิธีการของสถิติศาสตร์เชิงพรรณนา สถิติศาสตร์เชิงอนุมาน วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยตารางความถี่และแผนภาพ ได้แก่ แผนภูมิรูปภาพ แผนภูมิรูปวงกลม และแผนภูมิแท่งเป็นต้น วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณด้วยตารางความถี่ และแผนภาพ      ฮิตโทรแกรม แผนภาพจุด แผนภาพลำต้นและใบ แผนภาพกล่อง และแผนภาพการกระจาย หาค่ากลางของข้อมูล ค่าเฉลี่ยเลขคณิต มัธยฐาน และค่านิยม เลือกใช้ค่ากลางของข้อมูลในการแก้ปัญหา

โดยจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ในชีวิตประจำวันที่ใกล้ตัว มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาค้นคว้า การปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะ/กระบวนการใน การคิดคำนวณ ใช้วิธีการที่หลากหลายในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะ กระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้ต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์ สามารถทำงานอย่างเป็นระเบียบ มีความรอบคอบ มีควิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้  มีความมุ่งมั่นในการทำงาน อยู่อย่างพอเพียงและจิตสาธารณะ

ตัวชี้วัด

ค 3.1 ม. 6/1

http://www.pakkredlearningcyber.com/moodle/pluginfile.php/2854/course/summary/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AD%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B2%20%E0%B8%8433101.pdf

ว30104 วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ คลิกที่นี่

         ศึกษากำเนิดเอกภพ  กาแล็กซี  วิวัฒนาการของดาวฤกษ์  ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ระยะห่างของดาวฤกษ์ เนบิวลา แหล่งกำเนิดดาวฤกษ์ ระบบดาวฤกษ์ มวลของดาวฤกษ์  กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์  โครงสร้างของดวงอาทิตย์  การกำเนิดระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์  เขตของบริวารดวงอาทิตย์ กล้องโทรทรรศน์ การขนส่งและการโคจรของดาวเทียม ระบบขนส่งอวกาศ  โครงสร้างโลก  การแบ่งและสมบัติโครงสร้างโลก  หลักฐานและสมมติฐานการเคลื่อนที่ของทวีปหลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวของทวีป กระบวนการที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี การเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก  แผ่นดินไหว  ภูเขาไฟระเบิด  สึนามิ ปัจจัยที่มีผลต่อการได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์  การหมุนเวียนน้ำและอากาศ  ภูมิอากาศ  ลม ฟ้า อากาศและสัญลักษณ์จากแผนที่อากาศ

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  การสืบค้นข้อมูล  การสังเกต  การวิเคราะห์  อธิบาย  การอภิปรายและการสรุป 

          เพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  มีความสามารถในการตัดสินใจ  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนและดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน  มีจิตวิทยาศาสตร์  จริยธรรม  คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม

อ33101 ภาษาอังกฤษ 5 คลิกที่นี่

คำอธิบายรายวิชา

 

อ 33101   ภาษาอังกฤษ 5                                                กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1                                                     เวลา  40 ชั่วโมง           จำนวน 1.0 หน่วยกิต

 

 ศึกษาความแตกต่างระหว่าง หน้าที่ของคำ ความหมาย โครงสร้างประโยค ข้อความ สำนวน ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย การออกเสียงสระ พยัญชนะ และการเน้นหนักในระดับคำ วลี ประโยค และข้อความ การใช้ภาษา น้ำเสียง และกริยาท่าทางตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อและที่มาของขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษา การเขียนประเภทต่างๆและการใช้เครื่องหมายวรรคตอน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 โดยการบรรยาย อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ สำนวน ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย ค้นคว้า สืบค้นจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลสรุปความรู้ และฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน การวิเคราะห์ การอภิปรายและการฝึกคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 เพื่อใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารระหว่างบุคคล สนทนา  เขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง และประสบการณ์ ขอร้อง แนะนำ ชี้แจง อธิบาย พูดและเขียนแสดงความต้องการ เสนอ ตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือ พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูลต่างๆ บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ กิจกรรม ประสบการณ์  เข้าร่วมกิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาอย่างเหมาะสมและถูกกาลเทศะ  ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ในชุมชนและสังคม เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในท้องถิ่น ประเทศชาติ เป็นภาษาอังกฤษ แสดงความคิดเห็นและนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น เป็นผู้มึคุณลักษณะที่พึงประสงค์และเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง

รหัสตัวชี้วัด

ต 1.1   ม. 6/1,  ม. 6/2,  ม. 6/3,  ม. 6/4,

ต 1.2   ม. 6/1,  ม. 6/2,  ม. 6/3,  ม. 6/4,  ม. 6/5

ต 1.3   ม. 6/1,  ม. 6/2,  ม. 6/3

ต 2.1   ม. 6/1,  ม. 6/2,  ม. 6/3

ต 2.2   ม. 6/1,  ม. 6/2

ต 3.1   ม. 6/1

ต 4.1   ม. 6/1

ต 4.2   ม. 6/1,  ม. 6/2             รวมทั้งหมด 8 มาตรฐาน 21 ตัวชี้วัด

 

 


ส33101 พระพุทธศาสนา 3 คลิกที่นี่

  คำอธิบายรายวิชา      

       ศึกษา วิเคราะห์ พระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา พระพุทธศาสนาสอนการฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคม และโลก พระพุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาศาสนา เป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้ การก่อตั้ง วิธีการสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา (พระอานนท์ พระปฏาจาราเถรี นางจูฬสุภัททา นายสุมนมาลาการ) ศาสนิกชนตัวอย่าง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทโท) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ท่าน อนาคาริก ธรรมปาละ) ชาดก (มหาชนกชาดก)

        วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ (จิต – เจตสิก) สมุทัย (ปฏิจจสมุปบาท นิวรณ์ 5 อุปาทาน 4) นิโรธ (นิพพาน) มรรค (อธิปไตย 3 สาราณียธรรม 6 ทศพิธราชธรรม 10 วิปัสสนาญาณ 9 มงคล 38 (ความเพียรเผากิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เห็นอริยสัจ บรรลุนิพพาน)) พุทธศาสนสุภาษิต (พระราชาเป็นประมุขของประชาชน สติเป็นเครื่องตื่นในโลก สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) คุณค่าและความสำคัญของพระไตรปิฎก ปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีต่อสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้าง ปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะ ปฏิบัติตนตามศาสนพิธี พิธีกรรม วิเคราะห์หลักธรรม คติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สวดมนต์ แผ่เมตตา และบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธี สัมมนาและเสนอแนวทางธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถืออันส่งผลถึงการพัฒนาตน พัฒนาชาติ และโลก

        โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สมารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

         ตัวชี้วัด

          ส 1.1       ม.4-6/2      ม.4-6/9      ม.4-6/10    ม.4-6/13     ม.4-6/14    ม.4-6/15

                        ม.4-6/18    ม.4-6/19     ม.4-6/20    ม.4-6/22

          ส 1.2       ม.4-6/1      ม.4-6/2      ม.4-6/3      ม.4-6/4     

                        รวม  14  ตัวชี้วัด

ส33102 ประวัติศาสตร์ 1 คลิกที่นี่

คำอธิบายรายวิชา

ส๓๓๑๐๒ ประวัติศาสตร์ ๑                           กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ภาคเรียนที่ ๑                              เวลา ๔๐ ชั่วโมง      จำนวน ๑.๐ หน่วยกิต

 

          ศึกษา วิเคราะห์ ความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของมนุษยชาติ ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์นำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางประวัติศาสตร์ คุณค่าและประโยชน์ของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ประเด็นสำคัญทางประวัติศาสตร์ตั้งแต่ความเป็นมาของชนชาติไทย ก่อนอาณาจักรสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อชาติไทย ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทยซึ่งมีผลต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ในการพัฒนาชาติไทยในด้านต่างๆ อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกที่มีต่อสังคมไทย ผลงานของบุคคลสำคัญทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่มีส่วนสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยและประวัติศาสตร์ไทย ปัจจัยและบุคคลที่ส่งเสริมความสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทยที่มีต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย การกำหนดแนวทางและการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมไทย

          โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม

          เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ชาติไทย เกิดความรักความภาคภูมิใจและธำรงความเป็นไทย มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มุ่งมั่นในการทำงาน มีความรับผิดชอบ

 

ตัวชี้วัด

          ส ๔.๑            ม.๔-๖/๑         ม.๔-๖/๒

          ส ๔.๓            ม.๔-๖/๑         ม.๔-๖/๒         ม.๔-๖/๓         ม.๔-๖/๔         ม.๔-๖/๕

รวมทั้งหมด ๗ ตัวชี้วัด

ศ33101 ศิลปะพื้นฐาน 5 (ทัศนศิลป์) คลิกที่นี่

คำอธิบายรายวิชา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

รายวิชา ศิลปะพื้นฐาน 5 รหัสวิชา  ศ 33101                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6   

ภาคเรียนที่ 1   จำนวน 0.5 หน่วยกิต                                 เวลา 20 ชั่วโมง/ปี

……………………………………………...................…………………………………………………………………………………………………...............

 สาระที่ 1 ทัศนศิลป์                                                                         

          ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกทักษะการใช้วัสดุอุปกรณ์ กระบวนการและเทคนิคที่สูงขึ้นในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ด้วยหลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ จากแนวคิดและวิธีการสร้างงานของศิลปินที่ชื่นชอบได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

          วิเคราะห์ และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ในรูปแบบตะวันออก ตะวันตก และจุดมุ่งหมายการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์และเทคนิคของศิลปินในการแสดงออกทางทัศนศิลป์

          อภิปราย และเปรียบเทียบอิทธิพลของวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่มีต่อผลงานทัศนศิลป์ในสังคม                       เห็นคุณค่าและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันด้วยความชื่นชม

          โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติและกระบวนการพิจารณาคุณค่า เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจสามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

 

          ตัวชี้วัด

          ศ 1.1   ม.4-6/2 ม.4-6/3 ม.4-6/4 ม.4-6/7 ม.4-6/9

          ศ 1.2   ม.4-6/1 ม.4-6/3

          รวม  6  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 

 


ศ33101 ศิลปะพื้นฐาน 5 (ดนตรี) คลิกที่นี่

การศึกษาเรียนรู้ในเรื่องวงดนตรี เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาคของไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสานและภาคใต้ อธิบายเกี่ยวกับดนตรี ในวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป กับองค์ประกอบด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์สาเหตุความแตกต่างทางวัฒนาธรรมของภูมิภาคนั้น ๆ ความสำพันธ์ของดนตรีกับมนุษย์ การฟังดนตรีไทยเพื่อให้เกิดความเข้าใจและให้เกิดความสนุก คุณประโยชน์ของดนตรีไทย การใช้ประโยชน์ดนตรี ในด้านการใช้ดนตรีไทยช่วยรักษาโรค การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีไทยกับสังคมไทย ดนตรีไทยกับบทบาทในสังคมไทย การวิเคราะห์ สถานการณ์ดนตรีไทยในปัจจุบัน แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย การเรียนรู้การบันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากล ความเข้าใจในเรื่องโน้ตในดนตรีไทย การสอนแบบโบราณของงนักดนตรีไทย และดนตรีไทยกับวัยรุ่น

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของดนตรีตะวันออกและดนตรีตะวันตก การเปรียบเทียบลักษณะดนตรีที่เกิดจากวัฒนาธรรมต่างๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะดนตรีที่แตกต่างกัน การฝึกทักษะกรขับร้องทั้งเพลงไทยและสากล ทฤษฎี ดนตรีขั้นคู่เสียงและศัพท์สังคีตพื้นฐาน รวมถึงความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีที่มรต่อการพัฒนามนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น สมอง อารมณ์และการใช้ดนตรีรักษาโรคต่างๆ ที่เรียนกว่า ดนตรีบำบัด

 

 

รหัสตัวชี้วัด

2.1   ม.6/7 , ม.6/8

2.2   ม.6/4 , ม.6/5

รวมทั้งหมด 4 ตัวชี้วัด


ครูผู้สอน: ครูนิพล โตพูล

อ33101 ภาษาอังกฤษ 5 (Gifted)

Course Description

Subject: English5 Code: อ33101

Type of Course:  Core Subject  1.0 Unit of Learning

Duration: 2 periods / Week 40 Periods / Semester 

Semester 1: Academic Year 2021 Class Level:  Secondary 6 (Gifted Program)

Instructor: Miss Nuananong-Anong / Rhoster Ligan Paña


All the learners will study similarities and differences between language function, meaning, structures of sentences, phrases, texts, idioms, sayings, proverbs, the lifestyles, beliefs, social manners and culture of native speakers and those of Thais, and apply them appropriately. The learner will study about English pronunciation, intonation and various kinds of writing, use of punctuation marks and word order. The course also provides the lesson about philosophy of sufficiency economy

Throughout the course, all the learners are encouraged to practice and enhance listening, speaking, reading and writing skills. They will practice through both online and offline. The course is also to provide a variety of in-class activities and group discussions to select, interpret, compare, and summarize the key features or main points of different types of information from various leaning resources, in order to describe them accurately and appropriately. The learner will also practice to analyze and compare the information provided along with Sufficiency Economy Philosophy.

This course aims learners to communicate in English by using conversation and writing to express or describe their own feelings and opinions about various matters, activities, experiences news and incidents with proper reasoning. Search for and collect the terms related to other learning areas from learning sources, and present them through speaking and writing. All course-related activities are to equip learners’ competencies based upon the aspect of Sufficiency Economy Philosophy.


Codes for learning standards and indicators 

F 1.1   Gr 10-12/1,  Gr 10-12/2,  Gr 10-12/3,  Gr 10-12/4,

F 1.2   Gr 10-12/1,  Gr 10-12/2,  Gr 10-12/3,  Gr 10-12/4,  Gr 10-12/5

F 1.3   Gr 10-12/1,  Gr 10-12/2,  Gr 10-12/3

F 2.1   Gr 10-12/1,  Gr 10-12/2,  Gr 10-12/3

F 2.2   Gr 10-12/1,  Gr 10-12/2

F 3.1   Gr 10-12/1

F 4.1   Gr 10-12/1

F 4.2   Gr 10-12/1,  Gr 10-12/2         Total 8 standards 21 indicators