เรียนปรับพื้นฐาน ม.4 จำนวน 7 วิชา

นักเรียนเลือกเรียนตามรายวิชา CLICK ตามลิงค์ด้านล่าง


ช่วยเหลือ ค้นหารายวิชา

การเรียนปรับพื้นฐาน วิชาภาษาไทย ม.4 คลิกที่นี่

         ศึกษาการใช้ภาษาในมุมกว้าง มีความเข้าใจ อธิบายธรรมชาติของภาษา ลักษณะของภาษา เสียงในภาษาไทย
และการสร้างคำในภาษาไทย
  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การเรียนปรับพื้นฐาน วิชาเคมี ม.4 คลิกที่นี่

     ศึกษาเกี่ยวกับสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายของสารเคมี GHS และ NFPA ข้อควรปฏิบัติในการทำปฏิบัติการเคมี ทั้งก่อนทำ ขณะทำ และหลังปฏิบัติการ การจำกัดสารเคมี และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อได้รับอุบัติเหตุจากสารเคมี ศึกษาการพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่ได้จากการวัดจากความเที่ยงและความแม่น อุปกรณ์วัดปริมาตร และวัดมวล เลขนัยสำคัญ หน่วยวัดในระบบเอสไอ แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย รวมทั้งวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์

การเรียนปรับพื้นฐาน วิชาฟิสิกส์ ม.4 คลิกที่นี่

ศึกษาและวิเคราะห์ธรรมชาติทางฟิสิกส์ ปริมาณกายภาพและหน่วย การวัด ความคลาดเคลื่อนในการวัดและการทดลองในวิชาฟิสิกส์ การบอกตำแหน่งของวัตถุ ความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร่งคงตัว แรงและผลของแรงที่มีต่อสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ กฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน กฎแรงดึงดูดระหว่างมวล และแรงเสียดทาน

โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การแก้ปัญหา  การวิเคราะห์ สังเคราะห์ สังเกต สำรวจตรวจสอบ  สืบค้นข้อมูล และร่วมอภิปรายหน้าชั้น

เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เข้าใจหลักการ ทฤษฎี และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อธิบายความสัมพันธ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เชื่อมโยงเนื้อหาเหล่านี้เข้าด้วยกัน จนสามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ ตัดสินใจ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อย่างมีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม


การเรียนปรับพื้นฐาน วิชาโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ม.4 คลิกที่นี่

     ศึกษาโครงสร้างโลก การแบ่งโครงสร้างโลก หลักฐานและสมมติฐานการเคลื่อนที่ของทวีป หลักฐานและข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สนับสนุนการเคลื่อนตัวของทวีป กระบวนการที่ทําให้เกิดการเคลื่อนที่ ของแผ่นธรณี ลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณี การเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก แผ่นดินไหว ภูเขา ไฟระเบิด อายุทางธรณีวิทยา ซากดึกดําบรรพ์ การลําดับชั้นหิน กําเนิดเอกภพ กาแล็กซี วิวัฒนาการ ของดาวฤกษ์ กําเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์ความส่องสว่างและโชติมาตรของดาวฤกษ์ สีและ อุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ระยะห่างของดาวฤกษ์เนบิวลา แหล่งกําเนิดดาวฤกษ์ ระบบดาวฤกษ์ มวลของ ดาวฤกษ์การกําเนิดระบบสุริยะ ดวงอาทิตย์ เขตของบริวารดวงอาทิตย์  กล้องโทรทรรศน์ การขนส่งและ การโคจรของดาวเทียม ระบบขนส่งอวกาศ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ โดยช์กระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้การสืบค้นข้อมูลการสังเกต การวิเคราะห์การอภิปราย การอธิบายและสรุป เพื่อให้เกิดความรู้ความคิดความเข้าใจ มีความสามารถในการตัดสินใจ สื่อสารสิ่งที่ เรียนรู้และนําความรู้ไปใช้ในชีวิตของตนเองดูแลรักษาสิ่งมีชีวิตอื่น เฝ้าระวังและพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่าง ยั่งยืน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมุ่งเน้นความเป็นไทยควบคู่ กับความเป็นสากล


การเรียนปรับพื้นฐาน วิชาชีววิทยา ม.4 คลิกที่นี่

ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิต  การศึกษาชีววิทยาโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์     การนำความรู้เกี่ยวกับชีววิทยามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  โครงสร้างและหน้าที่ของสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต  โครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบเซลล์  การแพร่  การออสโมซิส  การแพร่แบบฟาซิลิเทตแอกทีฟทรานสปอร์ต  การลำเลียงสารโมเลกุลใหญ่  การแบ่งเซลล์   และการหายใจระดับเซลล์

โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  กระบวนการสืบเสาะหาความรู้  การสืบค้นข้อมูล  การสังเกต  การวิเคราะห์  การทดลอง  การอภิปราย  การอธิบายและสรุปเพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  มีความสามารถในการตัดสินใจ  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  มีคุณธรรม  และจริยธรรม

การเรียนปรับพื้นฐาน วิชาภาษาอังกฤษ ม.4 คลิกที่นี่

ศึกษาโครงสร้างประโยคและการเปลี่ยนรูปกริยาตามกาลเวลาในปัจจุบันกาลและอดีตกาล การอธิบายและเขียนประโยค และข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ ที่อ่าน รวมทั้งระบุและเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ ให้สัมพันธ์กับประโยค และข้อความที่ฟังหรืออ่าน การสนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและเรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว ประสบการณ์  สถานการณ์  ข่าว/  เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม และสื่อสาร อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม การอธิบาย/การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ ของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย โดยใช้กระบวนการสื่อสารทางภาษา ฝึกปฏิบัติ สนทนา บรรยาย อ่านออกเสียง ใช้พจนานุกรม สื่อบทเรียนออนไลน์ แหล่งเรียนรู้ออนไลน์และนอกห้องเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน

การเรียนปรับพื้นฐาน วิชาสังคมศึกษา ม.4 คลิกที่นี่

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม 

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6                                                                                  รหัสวิชา ส31101

เวลา  40 ชั่วโมง                                                                                                                                  จำนวน  1 หน่วยกิต

 

                ศึกษา วิเคราะห์ ความสำคัญของโครงสร้างทางสังคม การขัดเกลาทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาทางสังคม การปฏิบัติตนและสนับสนุนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก วัฒนธรรมไทยที่สำคัญ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย และเลือกรับวัฒนธรรมสากล สถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและแนวทางการพัฒนา บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ปัญหาการเมืองที่สำคัญในประเทศไทย การเมือง การปกครอง การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ การแลกเปลี่ยนเพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมด้านวัฒนธรรม การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม ความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ การใช้อำนาจรัฐ กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับตนเองและครอบครัว กฎหมายแพ่งเกี่ยวกับนิติกรรมสัญญา กฎหมายอาญาในเรื่องความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย กฎหมายอื่นที่สำคัญ ข้อตกลงระหว่างประเทศ

                โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม

                เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปประยุกต์ปฏิบัติในการดำเนินชีวิต มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถดำเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทยและสังคมโลก

 

ตัวชี้วัด                 

ส 2.1      ม. 4-6/1    ม. 4-6/2    ม. 4-6/3    ม. 4-6/4   ม.4-6/5

ส 2.2      ม. 4-6/1    ม. 4-6/2    ม. 4-6/3    ม. 4-6/4