ช่วยเหลือ ค้นหารายวิชา

พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำอธิบายรายวิชา

 

รายวิชา พระพุทธศาสนา                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6             ภาคเรียนที่ 1-2       รหัสวิชา ส33101 - 33103               เวลา 40 ชั่วโมง/ปี

 

        ศึกษา วิเคราะห์ พระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา พระพุทธศาสนาสอนการฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคม และโลก พระพุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาศาสนา เป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้ การก่อตั้ง วิธีการสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา (พระอานนท์ พระปฏาจาราเถรี นางจูฬสุภัททา นายสุมนมาลาการ) ศาสนิกชนตัวอย่าง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทโท) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ท่าน อนาคาริก ธรรมปาละ) ชาดก (มหาชนกชาดก)

        วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ (จิต – เจตสิก) สมุทัย (ปฏิจจสมุปบาท นิวรณ์ 5 อุปาทาน 4) นิโรธ (นิพพาน) มรรค (อธิปไตย 3 สาราณียธรรม 6 ทศพิธราชธรรม 10 วิปัสสนาญาณ 9 มงคล 38 (ความเพียรเผากิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เห็นอริยสัจ บรรลุนิพพาน)) พุทธศาสนสุภาษิต (พระราชาเป็นประมุขของประชาชน สติเป็นเครื่องตื่นในโลก สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) คุณค่าและความสำคัญของพระไตรปิฎก ปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีต่อสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้าง ปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะ ปฏิบัติตนตามศาสนพิธี พิธีกรรม วิเคราะห์หลักธรรม คติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สวดมนต์ แผ่เมตตา และบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธี สัมมนาและเสนอแนวทางธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถืออันส่งผลถึงการพัฒนาตน พัฒนาชาติ และโลก

        โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สมารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข  โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ตัวชี้วัด 

          ส 1.1       ม.4-6/2      ม.4-6/9      ม.4-6/10    ม.4-6/13     ม.4-6/14        ม.4-6/15

                        ม.4-6/18     ม.4-6/19    ม.4-6/20    ม.4-6/22

          ส 1.2       ม.4-6/1      ม.4-6/2      ม.4-6/3      ม.4-6/4     

                        รวม  14  ตัวชี้วัด


พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                               พระพุทธศาสนา3

 เรื่อง หลักธรรมพระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ศึกษา วิเคราะห์ หลักธรรมพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้ หลักธรรมพระพุทธศาสนาที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง มีส่วนร่วม และแนะนำให้ผู้อื่นอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การแสดงออกถึงความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พระบรมราโชวาท หลักการทรงงาน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และการเป็นพลเมืองดีตามวิธีประชาธิปไตย โดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์ อภิปราย กระบวนการกลุ่ม การสืบค้นข้อมูล การระบุ การปฏิบัติ การแสดงออกและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดคุณลักษณะเป็นชาวพุทธที่ดี มีความรู้ คู่คุณธรรม รวมถึงความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีวัฒนธรรม และมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย

 รหัสตัวชี้วัด ส ๑.๑ ม.๔-๖/๕-๘, ม.๔-๖/๑๓ รวม ๒ ตัวชี้วัด

ครูผู้สอน คุณครูสุวิชา ทะลือ คุณครูประทิน พ่วงแพ


สังคมศึกษา5 คลิ๊กที่นี่

เศรษฐกิจพอเพียง

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส๒๓๑๐๑ สังคมศึกษา ๕                             กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๑                 เวลา ๖๐ ชั่วโมง                   จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต

 

           ศึกษาประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความสำคัญของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในฐานะที่ช่วยสร้างความสงบสุขให้แก่โลก พุทธประวัติ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาดก ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ศาสนิกชนตัวอย่าง หน้าที่ของพระภิกษุในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยและจริยาวัตรอย่างเหมาะสม มารยาทชาวพุทธ หน้าที่ชาวพุทธ ศาสนพิธี การบริหารจิตและการเจริญปัญญา วิธีการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน คริสตศาสนิกชน ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู

ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ประเภทของแผนที่เฉพาะเรื่อง การแสดงข้อมูลในแผนที่เฉพาะเรื่อง ที่ตั้ง ขนาด อาณาเขต ลักษณะทางกายภาพ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้น สาเหตุการเกิดภัยพิบัติและผลกระทบ แนวทางการจัดการภัยพิบัติและการ จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

          โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายบนความแตกต่างของผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเพิ่มเติมประสบการณ์ใหม่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการทางสังคม การปฏิบัติงานกลุ่ม การเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา ใช้ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงสาระความรู้ในเชิงบูรณาการ

          เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินคุณค่า และนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ยอมรับและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีแสดงออกแนะนำผู้อื่นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ และโรงเรียนเข้าใจและตระหนักถึงการปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ มีความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในภูมิภาคต่าง ๆของโลกอย่างสันติ และพึ่งพาซึ่งกันและกัน การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบการทำหน้าที่ของบุคคลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ มีจิตสาธารณะ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีส่วนร่วมในการจัดภัยพิบัติ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ตัวชี้วัด

ส ๑.๑   ม.๓/๑ ม.๓/๒ ม.๓/๔ ม.๓/๕ ม.๓/๘ ม.๓/๙ ม.๓/๑๐

ส ๑.๒   ม.๓/๑ ม.๓/๒ ม.๓/๓ ม.๓/๔ ม.๓/๕ ม.๓/๖ ม.๓/๗

ส ๕.๑   ม.๓/๑ ม.๓/๒ 

ส ๕.๒   ม.๓/๑ ม.๓/๒ ม.๓/๓ ม.๓/๔ ม.๓/๕ 


ประวัติศาสตร์ 1


คำอธิบายรายวิชา

 

รหัสวิชา  ส21102                   รายวิชา ประวัติศาสตร์                      ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1

จำนวน 0.5  หน่วยกิต              เวลา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์                     เวลา  20  ชั่วโมง/ภาคเรียน         

          ศึกษาเปรียบเทียบศักราชตามระบบต่าง ๆ ที่ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ อธิบายพัฒนาการทางสังคม

เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำคัญ ของแหล่ง

อารยธรรมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วิเคราะห์ความสำคัญของเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์และนำวิธีการทางประวัติศาสตร์มาใช้ศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

          โดยการให้เหตุผลคิดวิเคราะห์ กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม

กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการแก้ปัญหา และวิธีการทางประวัติศาสตร์

          เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในความสำคัญของเวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ เข้าใจความเป็นมาของชาติไทย มีความรัก ความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ภูมิปัญญาไทยและธำรงรักษาความเป็นไทย

รหัสตัวชี้วัด

            ส 4.1 .1/1 .1/2 .1/3

            ส 4.2 .1/1 .1/2

ครูผู้สอน พัชรา  สุวรรณปักษ์