ช่วยเหลือ ค้นหารายวิชา

วิทยาศาสตร์ชีวภาพ

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
รหัสวิชา ว30103 รายวิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เวลา 60 ชั่วโมง จำนวน 1.5 หน่วยกิต
ศึกษาเกี่ยวกับเซลล์และโครงสร้างของเซลล์ การลำเลียงสารผ่านเซลล์ กลไกการรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต ภูมิคุ้มกันของร่างกาย ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โครโมโซมและสารพันธุกรรม การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม เทคโนโลยีชีวภาพ พันธุวิศวกรรม วิวัฒนาการกับความหลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม พืชและการใช้ประโยชน์จากพืช การเจริญเติบโตของพืช และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืช ระบบนิเวศ ไบโอม การเปลี่ยนแปลงแทนที่ของระบบนิเวศ ประชากรของสิ่งมีชีวิตปัญหาและผลกระทบที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในโรงเรียนหรือในชุมชน แนวทางในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรีระดับประเทศและระดับโลกรวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ การสืบค้นข้อมูล การสังเกต การจำแนก การเปรียบเทียบ การอธิบาย การอภิปราย การสำรวจตรวจสอบ การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ประยุกต์ใช้ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีจิตวิทยาศาสตร์คุณธรรมจริยธรรม นำความรู้ และค่านิยมที่เหมาะสม


สาระที่ 1 วิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
ว 1.1 ม.4/1, ม.4/2, ม.4/3, ม.4/4
ว 1.2 ม.4/1, ม.4/2, ม.4/3, ม.4/4, ม.4/5, ม.4/6, ม.4/7, ม.4/8, ม.4/9, ม.4/10, ม.4/11, ม.4/12
ว 1.3 ม.4/1, ม.4/2, ม.4/3, ม.4/4, ม.4/5, ม.4/6

รวมทั้งหมด 22 ตัวชี้วัด

พระพุทธศาสนา 4

คำอธิบายรายวิชา
ส ๓๒๑๐๔ พระพุทธศาสนา ๔ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ภาคเรียนที่ ๒ เวลา ๒๐ ชั่วโมง จำนวน ๐.๕ หน่วยกิต
---------------------------------------------------------------------------------------------------------

ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
พระพุทธ วันธรรมสวนะและเทศกาลสำคัญ ศึกษาวิเคราะห์คุณค่าผลงานภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพระพุทธศาสนามุ่งอนุรักษ์ศาสนวัตถุและศาสนสถานในท้องถิ่น เป็นแบบอย่าง มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และสนับสนุนให้ผู้อื่นแสดงออกถึงความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนาและเทอดทูนสถาบันพระมหากษตริย์
พระธรรม การบริหารจิตและเจริญปัญญา สวดมนต์แปล และแผ่เมตตา วิธีปฏิบัติและประโยชน์ของการบริหารจิตและเจริญปัญญา ฝึกการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน นำวิธีการบริหารจิตและเจริญปัญญาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้คุณภาพชีวิตและสังคม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ ๒ วิธี คือ วิธีคิดวิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ และความคิดแบบวิภัชชวาท ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการนำหลักธรรมไปใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นแบบอย่าง ประยุกต์และเผยแพร่พระบรมราโชวาท หลักการทรงงาน และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
พระสงฆ์ วิเคราะห์และปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีตามหน้าที่ชาวพุทธและมารยาทชาวพุทธ ศาสนพิธีเกี่ยวกับพิธีกรรมและงานพิธี พิธีบรรพชาอุปสมบท หลักธรรมคติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญและเทศกาลสำคัญในพระพุทธศาสนา การสวดมนต์แปล แผ่เมตตา และบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ (การคิดแบบแยกแยะองค์ประกอบ การคิดแบบวิภัชชวาท) พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา ประวัติของศาสดาของศาสนาอื่นและหลักคำสอนพื้นฐาน พระพุทธศาสนากับการเมืองและสันติภาพ อันส่งผลถึงการพัฒนาคน พัฒนาชาติ และโลก โดยใช้กระบวนกระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เป็นแบบอย่างและส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้อื่นเป็นพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย ประยุกต์ใช้กระบวนการประชาธิปไตยในการวิพากษ์ประเด็นนโยบายสาธารณะที่ตนสนใจ เลือกตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ รู้ทันข่าวสารและรู้ทันสื่อ
เพื่อนำไปแก้ปัญหาของตนเองและครอบครัว มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
โดยใช้กระบวนการ ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่า ของการศึกษา เรียนรู้ และปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณีของศาสนาที่ตนนับถือ

รหัสตัวชี้วัด ส ๑.๑ ม.๔-๖/๑๒ - ๑๕ , ม.๔-๖/๑๙ – ๒๑
ส ๑.๒ ม.๔-๖/๒ ,ม.๔-๖/๔
รวม ๙ ตัวชี้วัด



อ 32102 -ภาษาอังกฤษ 4

คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา อ 32102 รายวิชา ภาษาอังกฤษ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 เวลา 40 ชั่วโมง จำนวน 1 หน่วยกิต
-------------------------------------------------------------------------
ปฏิบัติตามคำแนะนำ คำชี้แจง และอ่านออกเสียงบทอ่านได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน เขียนประโยคและข้อความให้สัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่างๆ ที่อ่าน จับใจความสำคัญ ตีความ โต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของตนเอง เรื่องที่อยู่ในความสนใจ เรื่องใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ต่างๆ เลือกและใช้คำขอร้อง ให้คำแนะนำ คำชี้แจง ตอบรับและ ปฏิเสธ ขอและให้ข้อมูลในสถานการณ์ต่างๆ เหตุการณ์ใกล้ตัว เลือกใช้ภาษา น้ำเสียงและกิริยาท่าทางเหมาะกับโอกาส และสถานที่ตามมารยาททางสังคมของเจ้าของภาษา อธิบายวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนเข้าร่วมและจัดกิจกรรมทางภาษา วัฒนธรรมของเจ้าของอย่างเหมาะสม เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างโครงสร้างสำนวนประโยค
โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนทางภาษาที่หลากหลาย การฝึกปฏิบัติตามสถานการณ์ต่างๆกระบวนการคิดวิเคราะห์กระบวนการศึกษาค้นคว้า และสืบค้นข้อมูล
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ เห็นคุณค่าในการเรียนภาษาอังกฤษ สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษา ค้นคว้า สืบค้น รวบรวมข้อมูลต่างๆจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆได้
ตัวชี้วัด
ต 1.1 ม.5/2 ม.5/4
ต 1.2 ม.5/1 ม.5/3
ต 2.1 ม.5/3
ต 2.2 ม.5/2
ต 1.3 ม.5/1 ม.5/3
ต 3.1 ม.5/1
ต 4.1 ม.5/1
ต 4.2 ม.5/1 รวมทั้งหมด 11 ตัวชี้วัด