ศ33101 ศิลปะพื้นฐาน 5 (ดนตรี) คลิกที่นี่

การศึกษาเรียนรู้ในเรื่องวงดนตรี เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน 4 ภาคของไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสานและภาคใต้ อธิบายเกี่ยวกับดนตรี ในวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทย ที่มีลักษณะแตกต่างกันไป กับองค์ประกอบด้านเชื้อชาติ ศาสนา สังคม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์สาเหตุความแตกต่างทางวัฒนาธรรมของภูมิภาคนั้น ๆ ความสำพันธ์ของดนตรีกับมนุษย์ การฟังดนตรีไทยเพื่อให้เกิดความเข้าใจและให้เกิดความสนุก คุณประโยชน์ของดนตรีไทย การใช้ประโยชน์ดนตรี ในด้านการใช้ดนตรีไทยช่วยรักษาโรค การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีไทยกับสังคมไทย ดนตรีไทยกับบทบาทในสังคมไทย การวิเคราะห์ สถานการณ์ดนตรีไทยในปัจจุบัน แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย การเรียนรู้การบันทึกเพลงไทยด้วยโน้ตสากล ความเข้าใจในเรื่องโน้ตในดนตรีไทย การสอนแบบโบราณของงนักดนตรีไทย และดนตรีไทยกับวัยรุ่น

มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการของดนตรีตะวันออกและดนตรีตะวันตก การเปรียบเทียบลักษณะดนตรีที่เกิดจากวัฒนาธรรมต่างๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะดนตรีที่แตกต่างกัน การฝึกทักษะกรขับร้องทั้งเพลงไทยและสากล ทฤษฎี ดนตรีขั้นคู่เสียงและศัพท์สังคีตพื้นฐาน รวมถึงความสำคัญและประโยชน์ของดนตรีที่มรต่อการพัฒนามนุษย์ในด้านต่าง ๆ เช่น สมอง อารมณ์และการใช้ดนตรีรักษาโรคต่างๆ ที่เรียนกว่า ดนตรีบำบัด

 

 

รหัสตัวชี้วัด

2.1   ม.6/7 , ม.6/8

2.2   ม.6/4 , ม.6/5

รวมทั้งหมด 4 ตัวชี้วัด


ครูผู้สอน: ครูนิพล โตพูล