ว20220 โครงงานวิทยาศาสตร์2

 

คำอธิบายรายวิชาวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม

20220  โครงงานวิทยาศาสตร์ 2                            กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ภาคเรียนที่  1                                   เวลา 1  ชั่วโมง  จำนวน 0.5 หน่วยกิต

 

          ศึกษา  ทดลองวิเคราะห์  อธิบาย  ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์  การเลือกหัวเรื่องของโครงงานวิทยาศาสตร์  การศึกษาค้นคว้างานวิจัย  การรวบรวมข้อมูลพื้นฐาน  กาตั้งคำถามหรือระบุปัญหาการระบุตัวแปร  การตั้งสมมติฐาน  การวางแผนและการออกแบบการทดลอง  และการทดลองทางวิทยาศาสตร์  ปฏิบัติการโครงงานวิทยาศาสตร์  ขั้นตอนการบันทึกการค้นคว้าข้อมูลพื้นฐาน  การทำปฏิทินโครงงาน  ปฏิทินติดตามความก้าวหน้าของการทำงาน  บันทึกการประชุมหารือกันในกลุ่ม  การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์   ชื่อโครงงาน  บทคัดย่อ  บทนำ  การทดลอง  ผลการทดลองและบทอภิปรายการทดลอง  สรุปผลการทดลอง  การเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม  การประเมินโครงงานวิทยาศาสตร์  ความคิดสร้างสรรค์  ความคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์  การเขียนรายงาน  การนำเสนอผลงาน  ประโยชน์ของโครงงานและการนำไปใช้  การนำเสนอผลงาน  การพูดหรือการเล่าต่อหน้าผู้อื่น  การเตรียมสื่อ

          โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การสืบเสาะหาความรู้  การสำรวจตรวจสอบ  การสืบค้นข้อมูล  บันทึก  จัดกลุ่มข้อมูล  และการอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้  ความคิด  ความเข้าใจ  สามารถนำเสนอสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้มีความสามารถในการตัดสินใจ  เห็นคุณค่าของการนำไปใช้ประโยชน์  ในชีวิตประจำวัน  มีจิตวิทยาศาสตร์  คุณธรรมจริยธรรม  และค่านิยมที่เหมาะสม

 

ผลการเรียนรู้

1. ตั้งคำถามที่อยู่บนพื้นฐานของความรู้และความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์  หรือความสนใจ  หรือจากประเด็นที่เกิดขึ้นในขณะนั้น  ที่สามารถทำการสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าได้อย่างครอบคลุมและเชื่อถือได้

2. สร้างสมติฐานที่มีทฤษฎีรองรับ  หรือคาดการณ์สิ่งที่จะพบ  หรือสร้างแบบจำลอง  หรือสร้างรูปแบบเพื่อนำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ

3. ค้นคว้ารวบรวมข้อมูลที่ต้องพิจารณาปัจจัยหรือตัวแปรสำคัญ  ปัจจัยที่มีผลต่อปัจจัยอื่น  ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้  และจำนวนครั้งที่สำรวจตรวจสอบ เพื่อให้เกิดผลที่มีความเชื่อมั่นอย่างเพียงพอ

4. เลือกวัสดุ  เทคนิควิธี  อุปกรณ์ที่ใช้ในการสังเกต  การวัด  การสำรวจตรวจสอบอย่างถูกต้อง  ทั้งทางกว้างและทางลึก  ในเชิงปริมาณและคุณภาพ

5. เก็บรวบรวมข้อมูล  และบันทึกผลการสำรวจตรวจสอบอย่างเป็นระบบถูกต้อง  คลอบคลุมทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ  โดยตรวจสอบความเป็นไปได้  ความเหมาะสมหรือความผิดพลาดของข้อมูล

6. วิเคราะห์ข้อมูล  แปลความหมายข้อมูล  และประเมินความสอดคล้องของข้อสรุปหรือสาระสำคัญเพื่อตรวจสอบกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้

7. จัดกระทำข้อมูล  โดยคำนึงถึงการรายงานผลเชิงตัวเลขที่มีระดับความถูกต้องและนำเสนอข้อมูลด้วยเทคนิควิธีที่เหมาะสม

8. พิจารณาความเชื่อถือทางวิธีการและผลสำรวจตรวจสอบโดยใช้หลักความคลาดเคลื่อนของการวัดการสังเกต  เสนอแนะปรับปรุงวิธีการตรวจสอบ

9. นำผลของการตรวจสอบที่ได้  ทั้งวิธีการ องค์ความรู้ที่ได้ไปสร้างคำถามใหม่  นำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ใหม่  และในชีวิตจริง

10. บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบอย่างมีเหตุผล  ให้พยานหลักฐานอ้างอิงหรือค้นคว้าเพิ่มเติม  เพื่อหาหลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้และยอมรับว่ามีความรู้เดิมอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้  เมื่อมีข้อมูลโต้แย้งจากเดิม  ซึ่งท้าทายให้มีการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง  อ้นจะนำไปสู่การยอมรับเป็นความรู้ใหม่

11. จัดแสดงผลงาน  เขียนรายงาน  หรือ/และ  อธิบายเกี่ยวกับแนวคิด  กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ

 

รวมทั้งหมด  11  ผลการเรียนรู้

 

 โดนครูดิฐธิเดช แจ้งคต ครูชำนาญการพิเศษ