ว30221.1

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา  ว 30221                       รายวิชา เคมี 1     ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4

จำนวน 1.5 หน่วยกิต        เวลา 3 ชั่วโมง/สัปดาห์                 เวลา  60  ชั่วโมง/ภาคเรียน          

 

ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้นที่แสดงถึงความตระหนักในการทำปฏิบัติเคมีเพื่อให้มีความปลอดภัยทั้งต่อตนเอง ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อมและเสนอแนวทางแก้ไขเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ศึกษาวิธีเลือกและใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำปฏิบัติการ และวัดปริมาณต่าง ๆ ศึกษาการวางแผนการทดลอง ทดลองและเขียนรายงานการทดลอง ศึกษาหน่วยวัดปริมาณต่าง ๆ ของสารและเปลี่ยนหน่วยวัดให้เป็นหน่วยในระบบเอสไอด้วยการใช้แฟกเตอร์เปลี่ยนหน่วย

ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบแบบจําลองอะตอมของดอลตัน ทอมสัน รัทเทอร์ฟอร์ด โบร์ และ                แบบกลุ่มหมอก เขียนและแปลความหมายสัญลักษณ์นิวเคลียร์ของธาตุ ศึกษาอนุภาคของอะตอม เลขอะตอม    เลขมวล ไอโซโทป ศึกษา ทดลองเกี่ยวกับสีของเปลวไฟจากสารประกอบและเส้นสเปกตรัม ของธาตุบางชนิด ศึกษาและเขียนการจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม ศึกษาความหมายของระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ออร์บิทัล เวเลนซ์อิเล็กตรอน ศึกษาวิคราะห์การจัดเรียงธาตุในตารางธาตุของนักวิทยาศาสตร์ แนวโน้มสมบัติบางประการของธาตุในตารางธาตุตามหมู่และตามคาบ ศึกษาและเปรียบเทียบสมบัติของธาตุเรพรีเซนเททีฟและ              ธาตุแทรนชิชัน ศึกษาสมบัติธาตุกัมมันตรังสี การเกิดกัมมันตภาพรังสี การสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี ศึกษาและคํานวณครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี การใช้สารกัมมันตรังสี ธาตุและสารประกอบบางชนิดในสิ่งมีชีวิตละสิ่งแวดล้อม

ศึกษาวิเคราะห์แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคหรือพันธะเคมีของสารกฎออกเตต การเกิดพันธะ ศึกษา       วิเคราะห์การเกิดพันธะไอออนิก โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก สูตรและการเรียกชื่อสารประกอบ             ไอออนิก ศึกษาการเปลี่ยนแปลง พลังงานในการเกิดสารประกอบไอออนิก ทดลองเพื่อศึกษาสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก ปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก ความเป็นกรด-เบสของสารประกอบคลอไรด์และออกไซด์ ศึกษาแรงยึดเหนี่ยว  ระหว่างอนุภาค หรือพันธะเคมีของสารกฎออกเตตการเกิดพันธะและชนิดของพันธะโคเวเลนต์ สูตรเคมี การเรียกชื่อ และโครงสร้างสารประกอบโคเวเลนต์ ความยาวพันธะ พลังงานพันธะ การคํานวณหาพลังงานพันธะและพลังงานที่เปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยา แนวคิดเกี่ยวกับเรโซแนนซ์ รูปร่างของโมเลกุลและสภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ สารโครงผลึกร่างตาข่าย สมบัติบางประการของสารโคเวเลนต์ ศึกษาเกี่ยวกับพันธะโลหะ ธาตุและสารประกอบบางชนิดในสิ่งมีชีวิตละสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติเบื้องต้นในการปฏิบัติการทางเคมี สมบัติและความสัมพันธ์    ระหว่างสมบัติของธาตุและสารประกอบ และพันธะเคมี โดยใช้การเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสํารวจตรวจสอบ ยึดหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สองเงื่อนไข สามห่วง และสี่มิติ สามารถนําความรู้และหลักการไปใช้ประโยชน์ เชื่อมโยง อธิบายปรากฏการณ์ หรือ แก้ปัญหาในชีวิตประจําวัน สามารถจัดกระทําและวิเคราะห์ข้อมูล สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้มีความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหา มีจิตวิทยาศาสตร์ เห็นคุณค่าของวิทยาศาสตร์ มีจริยธรรม คุณธรรมและค่านิยมที่เหมาะสม