สังคมศึกษา5 คลิ๊กที่นี่

เศรษฐกิจพอเพียง

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส๒๓๑๐๑ สังคมศึกษา ๕                             กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ภาคเรียนที่ ๑                 เวลา ๖๐ ชั่วโมง                   จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต

 

           ศึกษาประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา การเผยแผ่และการนับถือพระพุทธศาสนาในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ความสำคัญของพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาในฐานะที่ช่วยสร้างความสงบสุขให้แก่โลก พุทธประวัติ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชาดก ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ศาสนิกชนตัวอย่าง หน้าที่ของพระภิกษุในการปฏิบัติตามหลักพระธรรมวินัยและจริยาวัตรอย่างเหมาะสม มารยาทชาวพุทธ หน้าที่ชาวพุทธ ศาสนพิธี การบริหารจิตและการเจริญปัญญา วิธีการดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชน คริสตศาสนิกชน ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู

ศึกษาสภาพทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้โดยใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ ประเภทของแผนที่เฉพาะเรื่อง การแสดงข้อมูลในแผนที่เฉพาะเรื่อง ที่ตั้ง ขนาด อาณาเขต ลักษณะทางกายภาพ กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ประเด็นปัญหาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมทางกายภาพกับมนุษย์ที่เกิดขึ้น สาเหตุการเกิดภัยพิบัติและผลกระทบ แนวทางการจัดการภัยพิบัติและการ จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก ความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

          โดยใช้การจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายบนความแตกต่างของผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมเพิ่มเติมประสบการณ์ใหม่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ กระบวนการทางสังคม การปฏิบัติงานกลุ่ม การเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา ใช้ความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงสาระความรู้ในเชิงบูรณาการ

          เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินคุณค่า และนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ยอมรับและเห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีแสดงออกแนะนำผู้อื่นและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเกี่ยวกับความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และเสียสละ และโรงเรียนเข้าใจและตระหนักถึงการปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนนับถือ มีความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ เห็นคุณค่าของการอยู่ร่วมกันในภูมิภาคต่าง ๆของโลกอย่างสันติ และพึ่งพาซึ่งกันและกัน การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการตัดสินใจตรวจสอบข้อมูล ตรวจสอบการทำหน้าที่ของบุคคลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ มีจิตสาธารณะ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน มีส่วนร่วมในการจัดภัยพิบัติ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

 

ตัวชี้วัด

ส ๑.๑   ม.๓/๑ ม.๓/๒ ม.๓/๔ ม.๓/๕ ม.๓/๘ ม.๓/๙ ม.๓/๑๐

ส ๑.๒   ม.๓/๑ ม.๓/๒ ม.๓/๓ ม.๓/๔ ม.๓/๕ ม.๓/๖ ม.๓/๗

ส ๕.๑   ม.๓/๑ ม.๓/๒ 

ส ๕.๒   ม.๓/๑ ม.๓/๒ ม.๓/๓ ม.๓/๔ ม.๓/๕