พระพุทธศาสนากับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คำอธิบายรายวิชา

 

รายวิชา พระพุทธศาสนา                                    กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่6             ภาคเรียนที่ 1-2       รหัสวิชา ส33101 - 33103               เวลา 40 ชั่วโมง/ปี

 

        ศึกษา วิเคราะห์ พระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัยกับวิธีการแก้ปัญหา พระพุทธศาสนาสอนการฝึกตนไม่ให้ประมาท มุ่งประโยชน์และสันติภาพแก่บุคคล สังคม และโลก พระพุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาศาสนา เป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุดในการตรัสรู้ การก่อตั้ง วิธีการสอน และการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา (พระอานนท์ พระปฏาจาราเถรี นางจูฬสุภัททา นายสุมนมาลาการ) ศาสนิกชนตัวอย่าง (พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทโท) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต) ท่าน อนาคาริก ธรรมปาละ) ชาดก (มหาชนกชาดก)

        วิเคราะห์และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พระรัตนตรัย หลักธรรมในกรอบอริยสัจ 4 ประกอบด้วย ทุกข์ (จิต – เจตสิก) สมุทัย (ปฏิจจสมุปบาท นิวรณ์ 5 อุปาทาน 4) นิโรธ (นิพพาน) มรรค (อธิปไตย 3 สาราณียธรรม 6 ทศพิธราชธรรม 10 วิปัสสนาญาณ 9 มงคล 38 (ความเพียรเผากิเลส ประพฤติพรหมจรรย์ เห็นอริยสัจ บรรลุนิพพาน)) พุทธศาสนสุภาษิต (พระราชาเป็นประมุขของประชาชน สติเป็นเครื่องตื่นในโลก สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง) คุณค่าและความสำคัญของพระไตรปิฎก ปฏิบัติตนเป็นศาสนิกชนที่ดีต่อสมาชิกในครอบครัวและคนรอบข้าง ปฏิบัติตนเป็นพุทธมามกะ ปฏิบัติตนตามศาสนพิธี พิธีกรรม วิเคราะห์หลักธรรม คติธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สวดมนต์ แผ่เมตตา และบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธี สัมมนาและเสนอแนวทางธำรงรักษาศาสนาที่ตนนับถืออันส่งผลถึงการพัฒนาตน พัฒนาชาติ และโลก

        โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล กระบวนการทางสังคม กระบวนการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหา กระบวนการปฏิบัติ และกระบวนการกลุ่ม เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นำไปแก้ปัญหาและพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ และโลก มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ สมารถดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข  โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

ตัวชี้วัด 

          ส 1.1       ม.4-6/2      ม.4-6/9      ม.4-6/10    ม.4-6/13     ม.4-6/14        ม.4-6/15

                        ม.4-6/18     ม.4-6/19    ม.4-6/20    ม.4-6/22

          ส 1.2       ม.4-6/1      ม.4-6/2      ม.4-6/3      ม.4-6/4     

                        รวม  14  ตัวชี้วัด