วิทยาศาสตร์ 6

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน
ว๒๓๑๐๓ วิทยาศาสตร์๖ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ภาคเรียนที ๒ เวลา ๖๐ ชั่วโมง จำนวน ๑.๕ หน่วยกิต

ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความต่างศักย์ กระแสไฟฟ้า และความต้านทาน และคำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้องโดยใช้สมการ V = IR ใช้โวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ในการวัดปริมาณทางไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้าเมื่อต่อตัวต้านทานหลายตัวแบบอนุกรมและแบบขนาน แผนภาพวงจรไฟฟ้าการทำงานของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายในวงจร แผนภาพและต่อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่ายในวงจรไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้าโดยใช้สมการ W = Pt ค่าไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน การเลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า การเกิดคลื่นและส่วนประกอบของคลื่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและสเปกตรัมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ประโยชน์และอันตรายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า กฎการสะท้อนของแสง การเคลื่อนที่ของแสง แสดงการเกิดภาพจากกระจกเงา การหักเหของแสงเมื่อผ่านตัวกลางโปร่งใสที่แตกต่างกัน และการกระจายแสงของแสงขาวเมื่อผ่านปริซึม แผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงแสดงการเกิดภาพจากเลนส์บาง ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับแสง และการทำงานของทัศนอุปกรณ์ แผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง วัดความสว่างของแสงโดยใช้อุปกรณ์วัดความสว่างของแสง ความสว่างของแสงที่มีต่อดวงตา การโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ด้วยแรงโน้มถ่วงจากสมการ F = (Gm1m2)/r2 การเกิดฤดู และการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ การเกิดข้างขึ้น ข้างแรม การเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตกของดวงจันทร์ และการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง การใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอวกาศ ความก้าวหน้าของโครงการสำรวจอวกาศ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่น โดยเฉพาะวิทยาศาสตร์ ปัญหาหรือความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่น เพื่อพัฒนางานอาชีพ ความถูกต้องด้านทรัพย์สินทางปัญญา การแก้ปัญหาให้ผู้อื่นเข้าใจด้วยเทคนิคหรือวิธีการที่หลากหลาย วางแผนขั้นตอนการทำงานและดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน การพัฒนาแอปพลิเคชันที่มีการบูรณาการกับวิชาอื่น ใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลาย ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล
โดย สำรวจ สร้างแบบจำลอง อธิบาย คำนวณ รวบรวมข้อมูล ซึ่งมีข้อมูลสนับสนุน เปรียบเทียบ วิเคราะห์ สืบค้นข้อมูล ออกแบบ นำเสนอ วางแผน ทดสอบ ประเมินผล ให้เหตุผล บูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์
เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่า สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีทักษะในการใช้ชีวิต เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสังคม รักความเป็นไทย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ มีวินัย อยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์สุจริต สามารถเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

รหัสตัวชี้วัด
ว ๒.๓ ม.๓/๑, ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔, ม.๓/๕, ม.๓/๖, ม.๓/๗, ม.๓/๘, ม.๓/๙, ม.๓/๑๐, ม.๓/๑๑, ม.๓/๑๒, ม.๓/๑๓, ม.๓/๑๔, ม.๓/๑๕, ม.๓/๑๖, ม.๓/๑๗, ม.๓/๑๘, ม.๓/๑๙, ม.๓/๒๐, ม.๓/๒๑
ว ๓.๑ ม.๓/๑ ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔
ว ๔.๒ ม.๓/๑ ม.๓/๒, ม.๓/๓, ม.๓/๔
รวมทั้งหมด ๒๙ ตัวชี้วัด