ส32102 ภูมิศาสตร์ 1

คำอธิบายรายวิชาพื้นฐาน

ส 32102 ภูมิศาสตร์                                                   กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1                                    เวลา 40 ชั่วโมง                     จำนวน 1.0 หน่วยกิต

 

          ศึกษา วิเคราะห์ ปฏิสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับมนุษย์ ผ่านการใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์และระบบภูมิสารสนเทศ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความสำคัญในการศึกษาภูมิศาสตร์

          โดยใช้ทักษะทางภูมิศาสตร์ ด้านการสังเกต การแปลความข้อมูลทางภูมิศาสตร์ การใช้เทคนิคและเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ การคิดเชิงพื้นที่ การคิดแบบองค์รวม การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้สถิติพื้นฐาน ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการสืบค้น วิเคราะห์และสรุปข้อมูลตามกระบวนการทางภูมิศาสตร์ กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ รวมถึงทักษะด้านการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ การรู้ทันข่าวสาร คาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้าบนพื้นฐานของข้อมูล การแก้ปัญหา

          เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ มีความสามารถทางภูมิศาสตร์ กระบวนการทางภูมิศาสตร์ ทักษะทางภูมิศาสตร์ และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ มีคุณลักษณะด้านการอยู่ร่วมกัน ขยัน ใฝ่เรียนรู้ ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ มีส่วนร่วมในการจัดการ พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ยึดมั่นในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 

มาตรฐานและตัวชี้วัด

ส 5.1     ม.4-6/1   วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ซึ่งได้รับอิทธิพลจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์

ส 5.1     ม.4-6/2   วิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพซึ่งทำให้เกิดปัญหาและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

ส 5.1     ม.4-6/3   ใช้แผนที่และเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ใน การค้นหา วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลตาม กระบวนการทางภูมิศาสตร์และนำภูมิ สารสนเทศมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ส 5.2     ม.4-6/1   วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพกับกิจกรรมของมนุษย์ในการสร้างสรรค์วิถีการดำเนินชีวิตของท้องถิ่นทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก และเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์

ส 5.2     ม.4-6/2   วิเคราะห์สถานการณ์ สาเหตุ และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยและภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

ส 5.2     ม.4-6/3   ระบุมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหา กฎหมายและนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บทบาทขององค์การที่เกี่ยวข้อง และการประสาน ความร่วมมือทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

ส 5.2     ม.4-6/4   วิเคราะห์แนวทางและมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

รวมทั้งหมด 7 ตัวชี้วัด

 

จุดเน้นหน้าที่พลเมือง

จุดเน้นที่ 2        ม.4-6/5                    จุดเน้นที่ 3.1     ม.4-6/6

จุดเน้นที่ 3.2     ม.4-6/9                    จุดเน้นที่ 3.2     ม.4-6/10

จุดเน้นที่ 4.3     ม.4-6/13                   จุดเน้นที่ 5        ม.4-6/10

รวมทั้งหมด 6 จุดเน้น