ศิลปะพื้นฐาน 6 (ดนตรีไทย)

ศึกษาและฝึกทักษะทางดนตรีผ่านกระบวนการเปรียบเทียบรูปแบบของบทเพลงและวงดนตรีแต่ละประเภท อธิบายเหตุผลที่คนต่างวัฒนธรรมสร้างสรรค์งานดนตรีแตกต่างกัน อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากลในอัตราจังหวะต่างๆ ร้องเพลง หรือเล่นดนตรีเดี่ยวและรวมวง โดยเน้นเทคนิคการแสดงออกและคุณภาพของการแสดง อารมณ์และความรู้สึกที่ได้รับจากงานดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่างกัน สถานะทางสังคมของนักดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ ลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมต่างๆ บทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยมที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม และนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดกของชาติ
โดยใช้ทักษะกระบวนการทางดนตรี ในการแสดงออกทางดนตรีอย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานดนตรี

เพื่อให้เห็นคุณค่างานดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
มาตรฐาน ศ 2.2 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล
ตัวชี้วัด
1. วิเคราะห์รูปแบบของดนตรีไทยและดนตรีสากลในยุคสมัยต่าง ๆ
- รูปแบบบทเพลงและวงดนตรีไทยแต่ละยุคสมัย
- รูปแบบบทเพลงและวงดนตรีสากลแต่ละยุคสมัย
2. วิเคราะห์สถานะทางสังคมของ นักดนตรีในวัฒนธรรมต่าง ๆ
ประวัติสังคีตกวี
3. เปรียบเทียบลักษณะเด่นของดนตรี ในวัฒนธรรมต่างๆ
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
- เครื่องดนตรี
- วงดนตรี
- ภาษา เนื้อร้อง
- สำเนียง
- องค์ประกอบบทเพลง
4. อธิบายบทบาทของดนตรีในการสะท้อนแนวความคิดและค่านิยม ที่เปลี่ยนไปของคนในสังคม
บทบาทดนตรีในการสะท้อนสังคม
- ค่านิยมของสังคมในผลงานดนตรี
- ความเชื่อของสังคมในงานดนตรี
5. นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีในฐานะมรดก
ของชาติ
แนวทางและวิธีการในการส่งเสริมอนุรักษ์ดนตรีไทย

ครูผู้สอน: ครูนิพล โตพูล