ส32101 พระพุทธศาสนา3 คลิกที่นี่

                                                      คำอธิบายรายวิชา

ส 32101  พระพุทธศาสนา 3              กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5     ภาคเรียนที่ 1    เวลา  20   ชั่วโมง        จำนวน  0.5  หน่วยกิต

 

          ศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น  สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักและเห็นคุณค่าในเรื่องต่อไปนี้
          พระพุทธ ศึกษาเกี่ยวกับประวัติและความสำคัญของพระพุทธศาสนา เพื่อวิเคราะห์เรื่องลักษณะประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักวิทยาศาสตร์ พระพุทธศาสนาเน้นการฝึกหัดอบรมตน การพึ่งตนเอง และการมุ่งอิสรภาพ การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาและการคิดแบบวิทยาศาสตร์  วิเคราะห์พุทธประวัติ  ด้านการสอน  และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามแนวพุทธจริยา ชาดก เรื่อง มโหสธชาดก แสดงออก แนะนำผู้อื่น และยกย่องบุคคลที่มีความเอื้อฟื้อเผื่อแผ่  และเสียสละ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเรื่องหลักธรรมคติธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  เป็นแบบอย่าง  มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม  และสนับสนุนให้ผู้อื่นแสดงออกถึงความรักชาติ ยึดมั่นในศาสนาและเทอดทูนสถาบันพระมหากษตริย์  
         พระธรรม ศึกษาเกี่ยวกับ หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง พระรัตนตรัย (วิเคราะห์ความหมายและคุณค่าของธรรมะอริยสัจ ๔ ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) : ขันธ์ 5  โลกธรรม 8สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) : กรรมนิยาม  กรรม 12 มิจฉาวณิชชา 5นิแสดรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) : วิมุตติ 5มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) : อปริหา-นิยธรรม 7  ปาปณิกธรรม 3  ทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4   โภคอาทิยะ 5   อริยวัฑฒิ 5   มงคล 38  ในเรื่อง เมื่อถูกโลกธรรมจิตไม่หวั่นไหว   จิตไม่เศร้าโศก    จิตไม่มัวหมอง  จิตเกษม  พุทธศาสนสุภาษิต คือ ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ (คนขยันเอาการเอางาน กระทำเหมาะสม ย่อมหาทรัพย์ได้วายเมเถว ปุรโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา (เกิดเป็นคนควรจะพยายาม จนกว่าจะประสบความสำเร็จ)    สนฺตุฏฺฐี ปรมํ ธนํ (ความสันโดษเป็นทรัพย์อย่างยิ่ง)  อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก  (การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก)  พระไตร-ปิฎก วิเคราะห์การสังคายนาและการเผยแผ่พระไตรปิฎก  เรื่องน่ารู้จากพระไตรปิฎก   คนครองเรือนที่ร้ายและ  ที่ดี 10 ประเภท ปฏิบัติตนเป็นผู้มีวินัยในตนเอง  ศัพท์ทางพระพุทธศาสนา  คือ  โพธิปักขิยธรรม วาสนา - บารมี           พระสงฆ์ ศึกษาเกี่ยวกับประวัติพุทธสาวก พุทธสาวิกา ได้แก่ พระอนุรุทธะ พระองคุลิมาล พระธัมมทินนาเถรี และจิตตคหบดี ชาวพุทธตัวอย่าง ได้แก่ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทะภิกขุและดร.เอ็มเบดการ์ หน้าที่ชาวพุทธ เรื่องการบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา ประโยชน์ของการบรรพชาและอุปสมบท การบวชเป็นแม่ชี ธรรมจาริณี หรือเนกขัมมนารี การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์และธรรมศึกษา

          การปลูกจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมในสังคมชาวพุทธ การปฏิบัติตนที่เหมาะสมในฐานะผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง ตามหลักทิศเบื้องบนในทิศ๖ การเข้าค่ายพุทธบุตร การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มรรยาทชาวพุทธและการปฏิบัติตนต่อพระภิกษุ เรื่องการแสดงความเคารพตามหลักพระพุทธศาสนาต่อพระรัตนตรัย  ปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุและปูชนียบุคคล การปฏิสันถารตามหลักปฏิสันถาร๒ ศาสนพิธี เรื่อง ความหมายและความสำคัญ คติธรรมในพิธีกรรม บทสวดมนต์ของนักเรียน งานพิธี คุณค่าและประโยชน์พิธีบรรพชา อุปสมบท คุณสมบัติ ของผู้ขอบรรพชาอุปสมบท  เครื่องอัฏฐบริขาร  สัมมนาพระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาและการพัฒนา เรื่อง พระพุทธศาสนากับการเมืองและสันติภาพ

                   โดยใช้กระบวนการศึกษา วิเคราะห์ ฝึกปฏิบัติ สร้างความคิดรวบยอด นำภูมิปัญญาท้องถิ่น  สภาพปัญหาชีวิต สภาพแวดล้อม

                   เพื่อให้เกิดศรัทธาอย่างยิ่งต่อพระรัตนตรัย และรักการเรียนรู้พระพุทธศาสนาประพฤติ   ปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม และสามารถนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การทำงานอย่างมีคุณค่าต่อชีวิตตนเองและสังคมโดยส่วนรวม

 

         

รหัสตัวชี้วัด       ส 1.1  ม.4-6/2 , ม.4-6/5-8ม.4-6/11-12

                    ส 1.2 ม.4-6/1ม.4-6/2

 

รวม    14  ตัวชี้วัด

จุดเน้นหน้าที่พลเมือง

 จุดเน้นที่  1  ส 1.1  ม.4-6/2

จุดเน้นที่ 2  ส 1.1 ม.4-6/5-8

จุดเน้นที่ 10  ส 1.2  ม.4-6/2

 

รวม  3  จุดเน้น